หมวดหมู่
Cars Accessories New Innovation News

PTG ผนึก “ไทยไพบูลย์” รุกธุรกิจบริหารจัดการและผลิตเชื้อเพลิงขยะเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนมูลค่ารวมประมาณ 400 ลบ. สัดส่วนสูงสุดไม่เกิน 33.33%

รองรับแผน 5 ปี ขยายพอร์ตธุรกิจ Non-Oil ด้าน Renewable Energy ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับบริษัท ไทยไพบูลย์ อีควิปเม้นท์ จำกัด โดยเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของไทยไพบูลย์ฯ ในครั้งแรกสัดส่วนไม่น้อยกว่า 10% คิดเป็นมูลค่าลงทุนไม่เกิน 103 ล้านบาท ซึ่งในอนาคต PTG จะมีสิทธิเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของไทยไพบูลย์ฯ เพื่อถือหุ้นในสัดส่วนสูงสุดไม่เกิน 33.33% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณการตลอดโครงการทั้งสิ้น 400 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของไทยไพบูลย์ เพื่อขยายการลงทุนธุรกิจบริหารจัดการขยะและผลิตเชื้อเพลิงขยะรวมถึงรองรับแผนธุรกิจ 5 ปีเพื่อขยายพอร์ตธุรกิจ Non-Oil ด้าน Renewable Energy ให้บริษัทฯ เติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริม
และผลักดันให้เกิดการสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม


นายพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) เปิดเผยว่า บริษัทฯ
ได้ลงนามความร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัท ไทยไพบูลย์ อีควิปเม้นท์จำกัด
ในการดำเนินธุรกิจบริหารจัดการและผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) เพื่อสนับสนุนแผนธุรกิจ 5 ปีของบริษัทฯ
ที่ต้องการขยายพอร์ตธุรกิจ Non-Oil ให้เติบโตในอนาคต โดยธุรกิจ
Renewable Energy เป็น 1 ใน 8 ธุรกิจหลักที่ PTG ตั้งเป้าที่จะเข้าลงทุน
เพื่อให้ธุรกิจ Renewable Energy เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของบริษัทฯ รวมถึงต่อยอดและขยายธุรกิจจากที่ PTG
ได้เข้าสู่ธุรกิจบริหารและจัดการขยะในปี 2565 โดยเป็นคู่สัญญากับเทศบาลเมืองบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำหรับการก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากชุมชน รวมถึงมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 4.5 MW
“บริษัทฯ เล็งเห็นว่าการร่วมกับไทยไพบูลย์ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจากชุมชน อย่างครบวงจร และผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) สำหรับทดแทนเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ไทยไพบูลย์มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับต้น ๆ ในธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) โดยทีมผู้บริหารมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน
ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่อยากเห็นชุมชนและคนในสังคมมีชีวิตที่ อยู่ดี มีสุข จากการบริหารจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี
ส่งผลให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้มีความเป็นอยู่อย่างถูกสุขลักษณะ
และเป็นช่องทางการเติบโตในอนาคตจากการต่อยอดไปยังธุรกิจอื่น เช่น
ธุรกิจบริหารจัดการขยะรีไซเคิล และธุรกิจคาร์บอนเครดิตได้ ” นายพิทักษ์
กล่าว
ด้านนายไพบูลย์ คุ้มคำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยไพบูลย์
อีควิปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ PTG ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นผู้นำด้านบริการในธุรกิจพลังงานครบวงจรของประเทศ เพื่อร่วมกันผลักดันและส่งเสริมการจัดการขยะ ที่สำคัญคือ มีความมุ่งมั่นเดียวกันในการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งมั่นใจว่าความร่วมมือของทั้ง 2 บริษัทในครั้งนี้จะถือเป็นองค์กรต้นแบบที่ช่วยผลักดันให้เกิดการจัดการ และสนับสนุน
สร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วนในการแยกขยะใช้แล้วอย่างจริงจังและมี
ประสิทธิภาพ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า ส่งผลดีต่อสังคม
สิ่งแวดล้อมและโลกได้ในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัท ไทยไพบูลย์ อีควิปเม้นท์ จำกัด อยู่ในกลุ่มผู้นำในการประกอบธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจากชุมชน ขยะฝังกลบอย่างครบวงจร และผลิตเชื้อเพลิงขยะ โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบ ผลิตติดตั้งระบบคัดแยกขยะ การบริหารจัดการบ่อขยะ การผลิตและจำหน่ายขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel: RDF)
รวมถึงเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการบริหารจัดการข
ยะที่มีประสบการณ์มากว่า 21 ปี นอกจากนี้ธุรกิจยังมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับเทรนด์ของโลกด้านพลังงานสะอาด การรักษาสิ่งแวดล้อม และการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ธุรกิจได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ รวมถึงมีความต้องการเกิดขึ้นจากทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ยังไม่ได้รับการกำจัดยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามปริมาณประชากรภายในประเทศ นักท่องเที่ยวต่างประเทศ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

สำหรับผลการดำเนินงานรวมของกลุ่มบริษัท ณ ปัจจุบัน
มีรายได้ต่อปีกว่า 800 ล้านบาท และกำไรสุทธิกว่า 100 ล้านบาท
ซึ่งรายได้หลักมาจากการขายเชื้อเพลิงขยะ (RDF)
และจากการบริหารจัดการขยะ

ใส่ความเห็น